วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย


            
                วิจัยเรื่อง ::           การใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์                                                                                                ของเด็กอนุบาล 2/1 โรงเรียนสาธิตอนุบาลจันทรเกษม

                ชื่อผู้วิจัย ::           วรารัตรน์    หวังพิทักษ์ และคณะ

                  ปีที่วิจัย  ::           ภาคเรียนที่1  ปีการศึกษา 2550

                จุดมุ่งหมายในการวิจัย เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรม เคลื่อนไหวและจังหวะในการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กนักเรียนอนุบาล 2/1 โรงเรียนอนุบาลสาธิตจันทรเกษม

                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักเรียนอนุบาล 2/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลสาธิตจันทรเกษม โดยใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 20 คน เพื่อจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง

                เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบ และแบบบันทึกการสังเกตขณะทำกิจกรรม จำนวน 3 ชุด เป็นสื่อในการจัดกิจกรรม คณะผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (SPSS/Fw) วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การหาค่าตะแนนเฉลี่ย(X) ค่าร้อยละ(%) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) และการทดสอบค่าที แบบ (Independent t-test)

                ผลการวิจัยพบว่า ผลการตัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะในการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กนักเรียนอนุบาล 2/1 โรงเรียนอนุบาลสาธิตจันทรเกษม เมื่อได้รับการจัดกิจกรรมครบจำนวน 3 ชุด เด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 2/1 มีความแตกต่างกัน ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กอนุบาล 2/1 มีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรม มีคะแนนเฉลี่ยก่อนจัดกิจกรรม 216.70 คิดเป็นร้อยละ 72 และหลังจัดกิจกรรม มีคะแนนเฉลี่ยหลังจัดกิจกรรมเฉลี่ย 229.40 คิดเป็นร้อยละ 76 จากการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะในการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 16



สัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอน
อาจารได้นำตัวอย่างสื่อที่เกิดจากการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ และบรรยายเกี่ยวกับรายละเอียดในการจะจัดกิจกรรมจากสื่อต่างว่าทำอย่างไร

               หลังจากที่อาจารย์บรรยายจบ อาจารย์ให้กลุ่มที่ยังไม่ได้ออกมาสาธิตการสอน ออกนำเสนอหน่วยของตนเอง โดนในสัปดาห์สุดท้ายนี้มีเพียง 2 กลุ่มที่ได้ออกมาสาธิต เหตุเพราะชั่วโมงเรียนไม่พอ หัวข้อของทั้ง 2 กลุ่มมีดังนี้


กลุ่มที่ 1 หน่วยข้าว


เพื่อนกำลังสอนเรื่องจำนวนทั้งหมด


เพื่อนกำลังสอนส่วนต่างๆของต้นข้าว 


กลุ่มที่ 2 หน่วยสับปะรด



เพื่อนกำลังให้เด็กๆออกความเห็นว่ารู้จักผลไม้ชนิดไหนบ้าง


เพื่อนกำลังรับฟังคำแนะนำเพิ่ทเติมจากอาจารย์ผู้สอน



สิ่งที่ได้รับจากการเรียนการสอนในวันนี้

                ได้รู้เกี่ยวกับแนวทางในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยบูรณาการจากหน่วยต่างๆได้ และเทคนิคในการดึงความสนใจของเด็ก ให้สนใจในเนื้อหาที่เราสอนโดยจะต้องมีกิจกรรมให้เด็กมีส่วนร่วม เช่น การให้เด็กได้นับ สัมผัสสิ่งต่างๆและร่วมเสนอความคิดเห็นของตนเอง จะทำให้เด็กไม่เบื่อแถมยังสนุกกับการเรียนได้อีกด้วย


วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 15


              
          อาจารย์ให้ส่ง Mind Mapping มาตรฐานคณิตศาสตร์และให้แต่ละกลุ่มออกมาสาธิตการสอนในหน่วยของตนเอง ยกตัวอย่าง หน่วยผลไม้โดยมีรายละเอียดในการสาธิตการสอนดังนี้

วันจันทร์ เรื่องชนิดของผลไม้


วิธีการสอน
1. เด็กๆคิดว่าอะไรอยู่ในตะกร้า (โดยมีผ้าคลุมตะกร้าให้เด็กได้คาดเดาความน่าจะเป็นว่ามีสิ่งใดอยู่)
2. ถ้าครูเปิดผ้าออกแล้วเด็กๆคนไหนตอบถูกให้ปรบมือให้ตนเอง หรือถ้าเด็กๆคนไหนตอบไม่ถูกก็ปรบมือให้เพื่อนๆด้วยนะคะ
3. การนับ คือ มีอยู่ 1 เพิ่มอีก 1 เป็น 2 มีอยู่ 2 เพิ่มอีก 1 เป็น 3 … (พูดและวางผลไม้ให้เด็กเห็นลำดับของผลไม้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)
4. ครูใช้ตัวเลขกำกับ แทนค่า หรือมีแผ่นกระดาษให้เด็กเขียนหมายเลข วางไว้หน้าผลไม้แต่ละผล เริ่มจาก 1 ตามลำดับ
5. จัดกลุ่ม ครูตั้งเกณฑ์เพียง 1 เกณฑ์ คือให้เด็กๆหยิบผลไม้ที่สีส้มมาไว้ข้างหน้า (โดยการวางจะต้องวางจากทางซ้ายไปขวา เพื่อเด็กจะได้เรียนรู้การเพิ่มของจำนวน)
6. ผลไม้ที่มีสีส้มมี 3 ผลของจำนวนทั้งหมด ผลไม้ที่เหลือที่ไม่มีสีส้มมี 5 ผล


วันอังคาร เรื่องลักษณะ
วิธีการสอน
1. ส่งผลส้มกับสับปะรดให้เด็กๆได้สังเกตและสัมผัสส่วนต่างๆของผลไม้เช่น รูปทรง สี กลิ่น พื้นผิว
2. ให้เด็กๆช่วยกันตอบลักษณะของผลไม้แต่ละชนิดว่าเป็นอย่างไร ดังนี้


3. นำข้อมูลที่เด็กๆเสนอมาทำเป็นแผนภูมิวงกลม เปรียบเทียบความต่างของผลไม้ระหว่าง ส้มกับสับปะรด เพื่อให้เด็กเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น




วันพุธ เรื่องประโยชน์
วิธีการสอน
                ใช้เทคนิคการเล่านิทาน ตอนจบครูถามเด็กๆว่าชอบดื่มผลไม้อะไรระหว่างน้ำส้มกับน้ำสับปะรด และนำจำนวนความชอบของเด็กๆมาจัดทำในรูปแบบกราฟ ดังนี้




วันพฤหัสบดี เรื่องการทำอาหาร

วิธีการสอน
1. นำสับปะรด1ผล มาแบ่งครึ่ง จะได้ออกมาเป็น 2 ส่วน
2. นำแต่ละส่วนมาประกอบอาหารที่แตกต่างกันไป เช่น นำมาทำสับปะรดเชื่อม1ส่วน อีก1ส่วนนำมาทำสับปะรดอบแห้ง



สิ่งที่ได้รับจากการเรียนการสอนในวันนี้
                ได้เรียนรู้ที่จะนำเรื่องต่างๆมาจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการให้เข้ากับคณิตศาสตร์ และได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสอนโดนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้เด็กได้มีส่วนรวม ในการนับ การตอบคำถาม การเสนอความคิดเห็น และได้ลงมือกระทำ เมื่อจัดกิจกรรมแบบนี้และจำให้ให้เด็กสนใจในเนื้อหาและเรียนอย่างสนุกสนานไม่น่าเบื่อ



บรรยากาศการออกมาสาธิตการสอน

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 14



หมายเหตุ :: ไม่มีการเรียนการสอน
-อาจารย์มอบหมายงาน ให้เตรียมตัวออกมานำเสนอการสอนในหัวข้อของตนเอง
-อาจารย์ให้นักศึกษาทำ Mind Mapping มาตรฐานคณิตศาสตร์ส่งในสัปดาห์ต่อไป

กลุ่มของดิฉันสอนเรื่อง กล้วย
โดยดิฉันได้หัวข้อ "ประโยชน์ของกล้วย"





วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 13



 Mind Mapping มาตรฐานคณิตศาสตร์





-อาจารย์ทบทวนมาตรฐานคณิตศาสตร์โดยยกตัวอย่าง หน่วย ไข่ตามหัวข้อดังนี้

1.ชนิดหรือพันธ์ของไข่ (วันจันทร์)
2.ลักษณะของไข่ (วันอังคาร)
3.ประโยชน์ของไข่ (วันพุธ)
4.การขยายพันธุ์ของไข่ (วันพฤหัสบดี)
5.ข้อควรระวัง (วันศุกร์)
-อาจารย์ให้นักศึกษาสอบการสอนในสัปดาห์ต่อไป ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะมีสมาชิก 5 คน ให้แบ่งออกมานำเสนอการสอนคนละ 1 หัวข้อ ข้อละไม่เกิน 20 นาที
-อาจารย์ให้นักศึกษาทำ Mind Mapping มาตรฐานคณิตศาสตร์ส่งในสัปดาห์ต่อไป


วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

สื่อการเรียนรู้ลูกเต๋า




      เป็นสื่อการสอนที่ได้แนวคิดมาจากโทรทัศน์ครู ใช้สอนเด็กระดับชั้นอนุบาล2-ประถมฯ1 เพื่อเรียนด้านต่างๆ เช่น การบวก-ลบแบบง่ายๆ จำนวนคู่-คี่ การผสมคำ และยังสามารถปรับเนื้อหาเพื่อสอนด้านอื่นๆได้อีกมากมาย 



สัปดาห์ที่ 12



            อาจารย์ให้ส่ง Mind Mapping แผ่นการจัดกิจกรรม แบบกลุ่ม พร้อมแนบ Mind Mapping แบบเดี๋ยวของสมาชิกกลุ่มไปด้วย



จากนั้นอาจารย์อาจารแนะแนวทางในการแบ่งงานและจัดเตรียมงานดังนี้
1. เรื่องใกล้ตัว
2. มีประโยชน์กับเด็ก
3. เด็กรู้จัก
4. เสริมสร้างพัฒนาการ
5. เป็นเรื่องง่ายๆที่เดกทำได้
6. เหมาะสมกับวัยของเด็ก
7. มีความสำคัญกับเด็ก
8. มีผลกระทบกับเด็ก

[ถ้าหาเด็กสนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ครูควรที่จะตรวจสอบภายในโรงเรียนหรือสิ่งใกล้ตัวที่สามารถนำมาบูรณาการในการสอนได้ ที่สามารถทำให้เด็กเข้าใจและไม่เกินกำลังของเรา]



วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 11



อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอง่านกลุ่มของตนเอง

กลุ่มที่ 1 ลูกคิด สอนในเรื่องการนับ จำนวน สื่อชิ้นนี้จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้เร็วมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นสื่อที่เป็นรูปธรรมเด็กสามารถจับต้องได้ เล่นได้ เราสามารถจัดให้เด็กสามารถเล่นได้ทุกวันโดยบูรณาการให้สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้เช่น ให้เด็กๆ ร้อยวันมาเรียนในแต่ล่ะวันของตน



กลุ่มที่ 2 การนำเสนอข้อมูลแบบกราฟ เช่นการหาค่ามากสุดและน้อยสุด เพื่อเปรียบเทียบกัน




กลุ่มที่ 3 ปฏิทินวันและเดือน สอนในเรื่องการนับจำนวน การเรียงลำดับ การนับเลขเชิงนามธรรม สัญลักษณ์ และปริมาตร





วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 10



          อาจารย์แบ่งกลุ่มให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยกันประดิษฐ์สื่อการสอนคณิตศาสตร์ตามแบบที่กลุ่มตนเองได้รับ โดยกลุ่มของดิฉันได้รับหัวข้อ สื่อปฏิทิน