วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 15


              
          อาจารย์ให้ส่ง Mind Mapping มาตรฐานคณิตศาสตร์และให้แต่ละกลุ่มออกมาสาธิตการสอนในหน่วยของตนเอง ยกตัวอย่าง หน่วยผลไม้โดยมีรายละเอียดในการสาธิตการสอนดังนี้

วันจันทร์ เรื่องชนิดของผลไม้


วิธีการสอน
1. เด็กๆคิดว่าอะไรอยู่ในตะกร้า (โดยมีผ้าคลุมตะกร้าให้เด็กได้คาดเดาความน่าจะเป็นว่ามีสิ่งใดอยู่)
2. ถ้าครูเปิดผ้าออกแล้วเด็กๆคนไหนตอบถูกให้ปรบมือให้ตนเอง หรือถ้าเด็กๆคนไหนตอบไม่ถูกก็ปรบมือให้เพื่อนๆด้วยนะคะ
3. การนับ คือ มีอยู่ 1 เพิ่มอีก 1 เป็น 2 มีอยู่ 2 เพิ่มอีก 1 เป็น 3 … (พูดและวางผลไม้ให้เด็กเห็นลำดับของผลไม้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)
4. ครูใช้ตัวเลขกำกับ แทนค่า หรือมีแผ่นกระดาษให้เด็กเขียนหมายเลข วางไว้หน้าผลไม้แต่ละผล เริ่มจาก 1 ตามลำดับ
5. จัดกลุ่ม ครูตั้งเกณฑ์เพียง 1 เกณฑ์ คือให้เด็กๆหยิบผลไม้ที่สีส้มมาไว้ข้างหน้า (โดยการวางจะต้องวางจากทางซ้ายไปขวา เพื่อเด็กจะได้เรียนรู้การเพิ่มของจำนวน)
6. ผลไม้ที่มีสีส้มมี 3 ผลของจำนวนทั้งหมด ผลไม้ที่เหลือที่ไม่มีสีส้มมี 5 ผล


วันอังคาร เรื่องลักษณะ
วิธีการสอน
1. ส่งผลส้มกับสับปะรดให้เด็กๆได้สังเกตและสัมผัสส่วนต่างๆของผลไม้เช่น รูปทรง สี กลิ่น พื้นผิว
2. ให้เด็กๆช่วยกันตอบลักษณะของผลไม้แต่ละชนิดว่าเป็นอย่างไร ดังนี้


3. นำข้อมูลที่เด็กๆเสนอมาทำเป็นแผนภูมิวงกลม เปรียบเทียบความต่างของผลไม้ระหว่าง ส้มกับสับปะรด เพื่อให้เด็กเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น




วันพุธ เรื่องประโยชน์
วิธีการสอน
                ใช้เทคนิคการเล่านิทาน ตอนจบครูถามเด็กๆว่าชอบดื่มผลไม้อะไรระหว่างน้ำส้มกับน้ำสับปะรด และนำจำนวนความชอบของเด็กๆมาจัดทำในรูปแบบกราฟ ดังนี้




วันพฤหัสบดี เรื่องการทำอาหาร

วิธีการสอน
1. นำสับปะรด1ผล มาแบ่งครึ่ง จะได้ออกมาเป็น 2 ส่วน
2. นำแต่ละส่วนมาประกอบอาหารที่แตกต่างกันไป เช่น นำมาทำสับปะรดเชื่อม1ส่วน อีก1ส่วนนำมาทำสับปะรดอบแห้ง



สิ่งที่ได้รับจากการเรียนการสอนในวันนี้
                ได้เรียนรู้ที่จะนำเรื่องต่างๆมาจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการให้เข้ากับคณิตศาสตร์ และได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสอนโดนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้เด็กได้มีส่วนรวม ในการนับ การตอบคำถาม การเสนอความคิดเห็น และได้ลงมือกระทำ เมื่อจัดกิจกรรมแบบนี้และจำให้ให้เด็กสนใจในเนื้อหาและเรียนอย่างสนุกสนานไม่น่าเบื่อ



บรรยากาศการออกมาสาธิตการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น