แฟ้มสะสมงานรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555
วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555
สัปดาห์ที่ 8
หมายเหตุ :: ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอยู่ในช่วงสอบกลางภาค ประจำภาคเรียนที่ 2/2555 ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2555 ถึง วันที่ 26 ธันวาคม 2555
วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555
สัปดาห์ที่ 6
- อาจารย์ยกตัวอย่าง “ขอบข่ายของทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
ทั้ง 12 ข้อ” โดยให้นักศึกษานำกล่องที่ไม่ใช้แล้วมา
เช่น กล่องยาสีฟัน กล่องแบรนด์
- อาจารย์อาจารย์ให้นักศึกษาแต่งละคนจินตนาการว่ากล่องที่ตนเองนำมานั้นเราจินตนาการได้เป็นอะไร
กล่องที่ดิฉันนำมาดังภาพ
จินตนาการเป็นหีบสมบัติ
-อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม
กลุ่มละ 11 คน
โดยในแต่ละกลุ่มให้สมาชิกกลุ่มนำกล่องของตนออกมาวางต่อจากของเพื่อนๆในกลุ่มให้เป็นรูปร่างต่างๆ
มีกติกาว่า “ห้ามคุยและห้ามปรึกษากัน”
ผลงานกลุ่มของดิฉันคือ
รถไฟ
นอกจากนี้ยังมีผลงานของกลุ่มอื่นๆอีกดังนี้
กลุ่มที่
1
ต่อเป็นหุ่นยนต์
กลุ่มที่
2
ต่อเป็นบ้าน
กลุ่มที่3 ต่อเป็นสถานีรถไฟ
วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
สัปดาห์ที่ 5
คณิตศาสตร์ : สัญลักษณ์ทางภาษา
นิตยา ประพฤติกิจ (2541 : 17 - 19) กล่าวว่า ขอบข่ายของคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยควรประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหาหรือทักษะดังต่อไปนี้
1. การนับ (Counting) เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก
เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1 - 10 หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข (Number) เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน
ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยวกับตัวเลข
ให้เด็กได้นับและคิดเองโดยครูเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม อาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย
เช่น มากกว่า น้อยกว่า ฯลฯ
3. การจับคู่ (Matching) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่าง
ๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกัน หรืออยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท (Classification) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของสิ่งต่าง
ๆ ว่ามีความแตกต่างหรือเหมือนกันในบางเรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ (Comparing) เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า
รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ
6. การจัดลำดับ (Ordering) เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง
ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่ง ที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือ จากสั้นไปยาว
7. รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and Space) นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่มตามปกติแล้ว
ครูยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม
สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึกตื้น กว้างและแคบ
8. การวัด (Measurement) มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง
ให้รู้จักความยาวและระยะรู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณการอย่างคร่าว ๆ
ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน
9. เซต (Set) เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้า ถือว่าเป็นหนึ่งเซต หรือห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท
แยกเป็นเซตได้ 3 เซต คือ นักเรียน ครูประจำชั้น
ครูช่วยสอน เป็นต้น
10. เศษส่วน (Fraction) ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แต่ครูปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวม (The Whole Object) ให้เด็กเห็นก่อน
มีการลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบ
หรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตา ให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบและต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation) ช่วงวัย 5 ขวบ ขึ้นไป ครูอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง
โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง จุดมุ่งหมายของการสอนเรื่องนี้ก็คือ
ให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า
ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
คณิตศาสตร์ : สัญลักษณ์ทางภาษา
นิตยา ประพฤติกิจ (2541 : 17 - 19) กล่าวว่า ขอบข่ายของคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยควรประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหาหรือทักษะดังต่อไปนี้
1. การนับ (Counting) เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก
เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1 - 10 หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข (Number) เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน
ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยวกับตัวเลข
ให้เด็กได้นับและคิดเองโดยครูเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม อาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย
เช่น มากกว่า น้อยกว่า ฯลฯ
3. การจับคู่ (Matching) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่าง
ๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกัน หรืออยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท (Classification) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของสิ่งต่าง
ๆ ว่ามีความแตกต่างหรือเหมือนกันในบางเรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ (Comparing) เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า
รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ
6. การจัดลำดับ (Ordering) เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง
ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่ง ที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือ จากสั้นไปยาว
7. รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and Space) นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่มตามปกติแล้ว
ครูยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม
สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึกตื้น กว้างและแคบ
8. การวัด (Measurement) มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง
ให้รู้จักความยาวและระยะรู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณการอย่างคร่าว ๆ
ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน
9. เซต (Set) เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้า ถือว่าเป็นหนึ่งเซต หรือห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท
แยกเป็นเซตได้ 3 เซต คือ นักเรียน ครูประจำชั้น
ครูช่วยสอน เป็นต้น
10. เศษส่วน (Fraction) ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แต่ครูปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวม (The Whole Object) ให้เด็กเห็นก่อน
มีการลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบ
หรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตา ให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบและต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation) ช่วงวัย 5 ขวบ ขึ้นไป ครูอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง
โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง จุดมุ่งหมายของการสอนเรื่องนี้ก็คือ
ให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า
ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
สัปดาห์ที่ 4
เข้าร่วมกิจกรรมงานกีฬาสีศึกษาศาสตร์สัมพันธ์
ภายในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2555
ดิฉันได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้
โดยเป็นกองเชียร์บนสแตน
วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
สัปดาห์ที่ 3
กิจกรรมและเนื้อหาในการเรียน
สัปดาห์นี้อาจารย์ให้นักศึกษารวมกลุ่มกันกลุ่มละ
3 คน แล้วให้นำงานที่อาจารย์มอบหมายให้นักศึกษาแต่ละคนไปสืบค้นข้อมูลมา
ให้นำขึ้นมาเตรียมไว้บนโต๊ะของตนเอง โดยงานที่ไปสืบค้นมีหัวข้อดังนี้
1.) สืบค้นหนังสือคณิตสาสตร์จากสำนักวิทยบริการ
2.) หาความหมายของคำว่า “คณิตศาสตร์”
3.) จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
4.) ทฤษฎีการสอนหรือวิธีการสอนคณิตศาสตร์
5.) ขอบข่ายคณิตศาสตร์
6.) หลักการสอนคณิตศาสตร์
จากนั้นให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำข้อมูลของแต่ละคนที่หามาได้ นำมาสรุปให้เป็นใจความเดียวกัน
โดยในแต่ละข้อนั้น จะต้องมีอ้างอิงถึง ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง ชื่อผู้เขียน ปีพ.ศ. เลขหน้า และเลขหมู่หนังสือ
ภาพชิ้นงาน :: คลิกที่ภาพเพื่อขยาย
หลังจากที่นักศึกษาแต่ละกลุ่มได้ช่วยกันสรุปงานแต่ละหัวข้อเรียนร้อยแล้ว
อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนลุกขึ้นนำเสนอตามหัวข้อที่อาจารย์เลือก
และแต่ละข้อต้องมีอ้างอิงถึง ชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง ชื่อผู้เขียน ปีพ,ศ, และเลขหน้าด้วย
ประโยชน์และความรู้ที่ได้รับ
ความหมายของคำว่า
“คณิตศาสตร์”
คณิตศาสตร์มิได้หมายความเพียงตัวเลขสัญลักษณ์เท่านั้น
แต่เป็นศาสตร์ของการคิดคำนวณและการวัด
มีการใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เป็นภาษาสากลเพื่อให้สื่อความหมาย คิดเป็น คิดเร็ว
คิดแก้ปัญหาและเข้าใจได้
อ้างอิง
:: วลัยลักษณ์ อินธิชัย,พรทิพย์ สุมาลัย และธาลากมล
โภคัง (2555)
กิจกรรมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน,เยาวพา เดชะคุปต์, 2528,
หน้า 76
จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
1.เพื่อฝึกให้เป็นคนมีเหตุผล ละเอียด ถี่ถ้วน รอบคอบ
2.เพื่อเตรียมเด็กให้มีความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์เบื้อต้น
3.เพื่อให้เด็กเรียนรู้และเข้าใจค่าและความหมายของตัวเลข
4.เพื่อให้เด็กรู้จักการเปรียบเทียบ การแยกหมู่ รวมหมู่ การเพิ่มขึ้นและลดลง
5.เพื่อให้เด็กเข้าใจความหมายและใช้คำพูดเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ได้ถูกต้อง
6.เพื่อฝึกทักษะในการคิดคำนวณ
7.เพื่อให้สัมพันธ์กับวิชาอื่นและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
8.เกิดความคิดรวบยอดของวิชาคณิตศาสตร์
9.มีความสามารถในหารแก้ปัญหา
10.ส่งเสริมความเป็นเอกัตบุคคลในตัวเด็ก
อ้างอิง
::
หนังสือการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตระดับปฐมศึกษา,มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2526, หน้า
245-2467
หนังสือกิจกรรมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน,เยาวพา
เดชะคุปต์,2528,หน้า 71
ทฤษฎีการสอนหรือวิธีการสอนคณิตศาสตร์
การจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยจะตต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1.มีความพร้อมที่จะเรียน
2.มีเวลาให้ค้นคว้าทดลอง
3.ใช้ภาษาและสัญลักษณ์
4.แสดงวิธีทำตามขั้นตอน
5.ครูร่วมกับเด็กปฏิบัติจริง
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นความรู้พื้นฐานของเด็กที่ได้รับประสบการณ์
เกี่ยวกับการสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนกตามรูปร่าง ขนาด น้ำหนัก ความยาว
ความสูง ความเหมือนและความแตกต่าง
อ้างอิง
:: คู่มือการบริหารโรงเรียนอนุบาล,การเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตระดับปฐมวัยศึกษา
(2520) หน้า
263-266
กิจกรรมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน,เยาวพา เดชะคุปต์,
2528, หน้า 73
เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา,หน้า 2
ขอบข่ายคณิตศาสตร์
สาระที่
1 การเปรียบเทียบ
สาระที่
2 การเรียงลำดับ
สาระที่
3 การวัด
สาระที่
4 การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
สาระที่
5 การนับ
สาระที่
6 การจัดหมู่ การรวมหมู่ การแยกหมู่
สาระที่
7 ภาษาคณิตศาสตร์และสัญลักษณ์
การสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่เป็นสิ่งที่ครูควรศึกษาเพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก
ซึ่งมีเนื้อหาที่ควรพิจารณาในการสอนดังนี้
1.การจัดหมู่หรือเซท
2.จำนวน
3.ระบบจำนวน
4.ความสัมพันธ์ระหว่างเซทต่างๆ
5.คุณสมบัติของคณิตศาสตร์
6.ลำดับที่ ความสำคัญ
7.การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
8.การวัด
9.รูปทรงเรขาคณิต
10.สถิติและกราฟ
อ้างอิง
:: กิจกรรมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน,เยาวพา
เดชะคุปต์, 2528, หน้า 76
หลักการสอนคณิตศาสตร์
เพยเจท์ได้ให้เทคนิคซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการที่เด็กจะพัฒนาและเรียนรู้มโนทัศน์คณิตศาสตร์ดังนี้
1. เด็กจะสร้างความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ โดยการจัดกระทำต่อวัตถุ โดยวิธีธรรมชาติหรือด้วยตนเองเท่านั้น
2. เด็กทำความเข้าใจกระบวนการทางด้านคณิตศาสตร์หลังจากที่เด็กเข้าใจการใช้เครื่องหมายเท่านั้น
3. เด็กควรทำความเข้าใจมโนทัศน์คณิตศาสตร์
สอนที่จะเรียนรู้การใช้สัญลักษณ์ต่างๆทางคณิตศาสตร์
การสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กเล็กมี 2 ประการ
1. การสอนให้เด็กคิด
โดยใช้วัสดุต่างๆประกอบการสอน วิธีการนี้เริ่มต้นในโรงเรียนมอนเตสซอรี่
ในประเทศอังกฤษ
2. การสอนตามสติปัญญาของผู้เรียน
วิธีนี้จะแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อยๆให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะเรียน
อ้างอิง
:: ปฐมวัยศึกษา:หลักสูตรและแนวปฏิบัติ,หรรษา
นิลวิเชียร, หน้า 158-159 (2534)
กิจกรรมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน,เยาวพา เดชะคุปต์, 2528, หน้า 72
วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
สัปดาห์ที่ 2
สัปดาห์ที่ 2 ของการเรียนการสอน ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับสื่อ
3 มิติ กระบวนการในการเรียนรู้ และสอนเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัส
โดยอาจารย์ได้ยกทฤษฎีการพัฒนาการทางสติปัญญาโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเพียเจท์ มาอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์และความรู้ที่ได้รับ
- - สื่อสามมิติ
หมายถึง สื่อที่ผลิตจากวัสดุที่มีความกว้าง ความยาว
ความหนาหรือลึก ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้หลายมุมมอง
และการรับสัมผัสต่างๆ สามารถรับรู้ได้ตามความเป็นจริง
- หากมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมก็แสดงว่าเกิดการเรียนรู้
- คณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวและอยู่รอบๆตัวเรา เช่นเรื่องของรูปทรงเรขาคณิต ยกตัวอย่าง สมุดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า, แก้วน้ำเป็นทรงกระบอก เป็นต้น
วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
สัปดาห์ที่ 1
สัปดาห์แรกในการเรียนการสอนในรายวิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์ได้ปฐมนิเทศเกี่ยวกับรายวิชาและร่วมกันสนทนาทำข้อตกลงภายในห้องเรียน
กิจกรรมและเนื้อหาในการเรียน
อาจารย์ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบ โดยเป็นแบบทดสอบแบบเปิดให้แสดงความคิดเห็นของตนเอง มีทั้งหมด 2 ข้อดังนี้
1.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคืออะไร (ตอบมา 2 ประโยค)
= การเรียนรู้รูปทรงต่างๆและการนับจำนวนสิ่งของหรือเรียนรู้การเพิ่มลดจำนวน
2.คาดหวังว่าเรียนในวิชานี้จะทำให้เรารู้เรื่องหรือได้รับประสบการณ์ในเรื่องอะไรบ้าง (บรรยาย)
= คาดหวังว่าจะได้รับความรู้ในรายวิชา หลักการ เทคนิคต่างๆในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างถูกต้อง และได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำสื่ออิเล็ดทรอนิค เช่นการบันทึกการเรียนการสอนแต่ละสัปดาห์ลงในบล็อกออนไลน์
ประโยชน์และความรู้ที่ได้รับ
- สิ่งที่ควรคำนึงถึงเด็กปฐมวัย คือ เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน, พัฒนาการ, วุฒิภาวะ, การเรียนรู้ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5, สภาพแวดล้อม, ความอยาก ฯลฯ
- ในการจัดประสบการณ์ต่างๆแก่เด็กปฐมวัย เราควรที่จะยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง
- พัฒนาการ คือการเปลี่ยนแปลงไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอนอย่างต่อเนื่อง
- เมื่อเด็กมีประสบการ์เดิมอยู่แล้ว แล้วรับประสบการใหม่เข้าไปเรียกว่า"รับรู้" และถ้าหากเด็กสามารถน้ำประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่มารวมกันทำให้พฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนแปลงไปเรียกว่าเด็กเกิดการ"เรียนรู้"
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)